ข้าว
วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
การเก็บเกี่ยวข้าว
เมื่อ ดอก ข้าว ได้ บาน และ มี การ ผสม เกสร แล้ว หนึ่ง สัปดาห์ ภาย ใน ที่ ห่อ หุ้ม ด้วย lemma และ palea ก็ จะ เริ่ม เป็น แป้ง เหลว สี ขาว ใน สัปดาห์ ที่ สอง แป้ง เหลว นั้น ก็ จะ แห้ง กลาย เป็น แป้ง ค่อน ข้าง แข็ง และ ใน สัปดาห์ ที่ สาม แป้ง ก็ จะ แข็ง ตัว มาก ยิ่ง ขึ้น เป็น รูป ร่าง ของ เมล็ด ข้าว กล้อง แต่ มัน จะ แก่ เก็บ เกี่ยว ได้ ใน สัปดาห์ ที่ สี่ นับ จาก วัน ที่ ผสม เกสร จึง เป็น ที่ เชื่อ ถือ ได้ ว่า เมล็ด ข้าว จะ แก่ พร้อม เก็บ เกี่ยว ได้ หลัง จาก ออก ดอก แล้ว ประมาณ 28-30 วัน ชาว นา ใน ภาค เหนือ ภาค ตะวัน ออก เฉียง เหนือ และ ภาค กลาง ใช้ เคียว สำหรับ เกี่ยว ข้าว ที ละ หลาย ๆ รวง ส่วน ชาว นา ใน ภาค ใต้ ใช้ แกระ สำหรับ เกี่ยว ข้าว ที ละ รวง เคียว ที่ ใช้ เกี่ยว ข้าว มี อยู่ ๒ ชนิด ได้ แก่ เคียว นา สวน และ เคียว นา เมือง เคียว นา สวน เป็น เคียว วง กว้าง ใช้ สำหรับ เกี่ยว ข้าว นา สวน ซึ่ง ได้ ปลูก ไว้ แบบ ปัก ดำ แต่ ถ้า ผู้ ใช้ มี ความ ชำนาญ ก็ อาจ เอา ไป ใช้ เกี่ยว ข้าว นา เมือง ก็ ได้ ส่วน เคียว นา เมือง เป็น เคียว วง แคบ และ มี ด้าม ยาว กว่า เคียว นา สวน เคียว นา เมือง ใช้ เกี่ยว ข้าว นา เมือง ซึ่ง ได้ ปลูก ไว้ แบบ หว่าน ข้าว ที่ เกี่ยว ด้วย เคียว ไม่ จำ เป็น ต้อง มี คอ รวง ยาว เพราะ ข้าว ที่ เกี่ยว มา จะ ถูก รวบ มัด เป็น กำ ๆ ส่วน ข้าว ที่ เกี่ยว ด้วย แกระ จำ เป็น ต้อง มี คอ รวง ยาว เพราะ ชาว นา ต้อง เกี่ยว เฉพาะ รวง ที่ ละ รวง แล้ว มัด เป็น กำ ๆ
ข้าว ที่ เกี่ยว ด้วย แกระ ชาว นา จะ เก็บ ไว้ ใน ยุ้ง ฉาง ซึ่ง โปร่ง มี อากาศ ถ่าย เท ได้ สะดวก และ จะ ทำ การ นวด เมื่อ ต้อง การ ขาย หรือ ต้อง การ สี เป็น ข้าวสาร ข้าว ที่ เกี่ยว ด้วย เคียว ซึ่ง ปลูก ไว้ แบบ ปัก ดำ ชาว นา จะ ทิ้ง ไว้ ใน นา จน หมด ซัง เพื่อ ตาก แดด ให้ แห้ง เป็น เวลา ๓-๕ วัน สำหรับ ข้าว ที่ ปลูก แบบ หว่าน พื้น ที่ นา จะ แห้ง ใน ระยะ เก็บ เกี่ยว ข้าว จึง แห้ง ก่อน เก็บ เกี่ยว ข้าว ที่ เกี่ยว แล้ว จะ กอง ทิ้ง ไว้ บน พื้น ที่ นา เป็น รูป ต่าง ๆ กัน เป็น เวลา ๕-๗ วัน เช่น รูป สาม เหลี่ยม แล้ว จึง ขน มา ที่ ลาน สำหรับ นวด ข้าว ที่ นวด แล้ว จะ ถูก ขน ย้าย ไป เก็บ ไว้ ใน ยุ้ง ฉาง หรือ ส่ง ไป ขาย ที่ โรง สี ทัน ที ก็ ได้
ข้าว
การดูแลรักษาต้นข้าว
ในระหว่าง การ เจริญ เติบ โต ของ ต้น ข้าว ตั้ง แต่ การ หยอด เมล็ด การ หว่าน เมล็ด การ ปัก ดำ ต้น ข้าว ต้อง การ น้ำ และ ปุ๋ย สำหรับ การ เจริญ เติบ โต ใน ระยะ นี้ ต้น ข้าว อาจ ถูก โรค และ แมลง ศัตรู ข้าว หลาย ชนิด เข้า มา ทำลาย ต้น ข้าว โดย ทำ ให้ ต้น ข้าว แห้ง ตาย หรือ ผล ผลิต ต่ำ และ คุณภาพ เมล็ด ไม่ ได้ มาตร ฐาน เพราะ ฉะนั้น นอก จาก จะ มี วิธี การ ปลูก ที่ ดี แล้ว จะ ต้อง มี วิธี การ ดู แล รักษา ที่ ดี อีก ด้วย ผู้ ปลูก จะ ต้อง หมั่น ออก ไป ตรวจ ดู ต้น ข้าว ที่ ปลูก ไว้ เสมอ ๆ ใน แปลง ที่ ปลูก ข้าว ไร่ จะ ต้อง มี การ กำจัด วัช พืช ใส่ ปุ๋ย และ พ่น ยา เคมี เพื่อ ป้อง กัน และ กำจัด โรค แมลง ศัตรู ที่ อาจ เกิด ระบาด ขึ้น ได้ ใน แปลง กล้า และ แปลง ปัก ดำ จะ ต้อง มี การ ใส่ ปุ๋ย มี น้ำ เพียง พอกับความ ต้อง การ ของ ต้น ข้าว และ พ่น ยา เคมี ป้อง กัน กำจัด โรค แมลง ศัตรู ข้าว นอก จาก นี้ ชาว นา จะ ต้อง หมั่น กำจัด วัช พืช ใน แปลง ปัก ดำ อีก ด้วย เพราะ วัชพืช เป็น ตัว ที่ แย่งปุ๋ย ไป จาก ต้น ข้าว ใน พื้น ที่ นา หว่าน ชาว นา จะ ต้อง กำจัด วัช พืช โดย ใช้ สาร เคมี พ่น หรือ ใช้ แรง คน ถอน ทิ้ง ไป ก็ ได้ นอก จาก นี้ จะ ต้อง พ่น สาร เคมี เพื่อ ป้อง กัน กำจัด โรค และ แมลง อีก ด้วย เนื่อง จาก พื้น ที่ นา หว่าน มัก จะ มี ระดับ น้ำ ลึก กว่า นา ดำ ฉะนั้น ชาว นา ควร ใส่ ปุ๋ย ก่อน ที่ น้ำ จะ ลึก ยก เว้น ใน พื้น ที่ ที่ น้ำ ไม่ ลึก มาก ก็ ให้ ใส่ ปุ๋ย แบบ นา ดำ ทั่ว ๆ ไป
การปลูกข้าวโดยวิธีการโยนข้าว
แนะนำให้เป็นทางเลือกในพื้นที่
1. พื้นที่ปัญหาข้าววัชพืชมาก
2. ผลิตในศูนย์ข้าวชุมชนหรือไว้ใช้เองได้
3. ผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อควบคุมข้าววัชพืช
4. ประหยัดเมล็ดพันธุ์
เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าแต่ได้ผลผลิตไม่ตกต่างจากการปักดำด้วยเครื่องหรือการหว่านน้ำตม แต่สามารถควบคุมวัชพืช โดยเฉพาะข้าววัชพืช ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ในภาคกลาง
ตาราง 1 เปรียบเทียบต้นทุน (บาท/ไร่) ของการปลูกข้าวปทุมธาน ี1 ด้วยวิธีการปลูกแบบต่างๆ
(ไม่รวมค่าสารเคมีป้องกันกำจัดโรค แมลง และน้ำมันสูบน้ำเข้านา) /ปรับปรุงจาก นิตยาและคณะ, (2549)
ขั้นตอนการทำนา | หว่านน้ำตม | นาดำ | โยนกล้า |
1. เตรียมดิน | 610 | 610 | 610 |
2. เมล็ดพันธุ์ | 345 | 138 | 92 |
3. ตกกล้า | - | 300 | 300 |
4. หว่าน (ปักดำ โยนกล้า) | 40 | 672 | 50 |
5. ปุ๋ย | 948 | 948 | 948 |
6.สารเคมีคุมวัชพืช | 200 | - | - |
7. เก็บเกี่ยว | 600 | 600 | 600 |
8. รวมต้นทุน | 2,743 | 3,268 | 2,600 |
9. ผลผลิต | 775 | 875 | 880 |
การตกกล้า
ตกกล้าในกระบะเพาะกล้าที่มีลักษณะเป็นหลุม ตามลำดับดังนี้
1. ใส่ดินในหลุมประมาณ ครึ่งหนึ่งของหลุม |
2. หว่านเมล็ดข้างงอกลงในหลุมโดยใช้อัตรา 3-4 กก./ 60-70 ถาด/ไร่ |
3. ใส่ดินปิดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระวังอย่าให้ดินล้นออกมานอกหลุม เพราะจะทำให้รากข้าวที่งอกออกมาพันกัน เวลาหว่านต้นข้าวจะไม่กระจายตัว |
4. หาวัสดุ เช่นกระสอบป่าน คลุมถาดเพาะ เพื่อเวลารดน้ำจะได้ไม่กระเด็น รดน้ำเช้า เย็น ประมาณ 3-4 วัน ต้นข้าวจะงอกทะลุกระสอบป่าน ให้เอากระสอบป่านออก แล้วรดน้ำต่อไป จนกล้าอายุ 15 วัน |
5. นำกล้าที่ได้ไปหว่านในแปลงที่เตรียมไว้ ให้สม่ำเสมอ การตกกล้า 1 คน สามารถตกได้ 2 ไร่ (140 กระบะ) /วัน |
การเตรียมแปลง
ไถดะครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวข้าวปล่อยแปลงให้แห้งประมาณ 15-30 วัน แล้วปล่อยน้ำเข้าพอให้ดินชุ่มประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้วัชพืชและเมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในดินงอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเสียก่อนจึงไถดะครั้งที่
ไถแปร หลังจากการไถดะครั้งที่ 1 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันโดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดวัชพืชและเมล็ดข้าวที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีกแล้วจึงไถแปร
คราดหรือทุบ หลังจากการไถแปรครั้งที่ 2 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันโดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดวัชพืชและเมล็ดข้าวที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีกแล้วคราดหรือทุบจะช่วยทำลายวัชพืชได้มาก หรือหลังจากไถดะ ไถแปรและคราดเสร็จแล้วเอาน้ำขังแช่ไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่เป็นวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบ ขาเขียด ทรงกระเทียม ผักปอดและพวกกกเล็ก เป็นต้น งอกขึ้นเสียก่อน เพราะเมล็ดวัชพืชปกติจะงอกภายใน 5-7 วันหลังจากน้ำนิ่งโดยเฉพาะนาที่น้ำใส เมื่อลูกหญ้าขึ้นแล้วจึงคราดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลูกหญ้าก็จะหลุดลอยไปติดคันนาทางใต้ลม ก็จะสามารถช้อนออกได้หมด เป็นการทำลายวัชพืชวิธีหนึ่ง
สำหรับผู้ที่ใช้ลูกทุบหรืออีขลุก ย่ำฟางข้าวให้จมลงในดินแทนการไถ หลังจากย่ำแล้วควรจะเอาน้ำแช่ไว้ให้ฟางเน่าเปื่อยจนหมดความร้อนเสียก่อนอย่างน้อย 3 สัปดาห์แล้วจึงย่ำใหม่ เพราะแก๊สที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของฟางจะเป็นอันตรายต่อต้นข้าวจะทำให้รากข้าวดำไม่สามารถจะหาอาหารได้
ระบายน้ำออกเพื่อปรับเทือก ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ เมื่อคราดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับเทือกให้สม่ำเสมอ กระทำได้ด้วยการใช้น้ำในนาเป็นเครื่องวัด โดยให้น้ำในนามีระดับเพียงตื้นๆ ขนาดเพียงท่วมหลังปูก็จะเห็นว่าพื้นที่นาราบเรียบเพียงใดอย่างชัดเจน เมื่อเห็นว่าส่วนใดยังไม่สม่ำเสมอก็ควรจะปรับเสียใหม่ การปรับพื้นที่นาหรือปรับเทือกให้สม่ำเสมอจะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก
การโยนกล้า ให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. นำกระบะกล้าข้าวที่มีอายุ 15 วัน ไปวางรายในแปลงที่เตรียมไว้ให้กระจายสม่ำเสมอ อัตรา 60-70 กระบะต่อไร่ จากนั้นคนที่จะโยนกล้าจะหยิบกระบะกล้ามาวางพาดบนแขน แล้วใช้มือหยิบกล้าข้าวหว่านหรือโยนในแปลง โดยโยนให้สูงกว่าศรีษะ ต้นกล้าจะพุ่งลงโดยใช้ส่วนรากที่มีดินติดอยู่ลงดินก่อน การหว่านกล้า 1 คน สามารถหว่านได้วันละ 4- 5 ไร่
จับต้นกล้า 5 - 15 หลุม | โยนตวัดมือขี้นหนือศีรษะ ต้นกล้าจะพุ่งดิ่งลง |
เกษตรกรช่วยกันโยนกล้า/หว่านต้นกล้า |
ต้นกล้าหลังหว่าน 7 วัน | การแตกกอของข้าวที่ปลูกด้วยวิธีการโยนกล้า |
ข้อได้เปรียบของวิธีการโยนกล้าเปรียบเทียบกับการปักดำและหว่านน้ำตม
1. แปลงที่มีลักษณะหล่มก็สามารถเตรียมแปลงเพื่อการหว่านต้นกล้าได้ แต่ไม่สามารถปลูกโดยวิธีการปักดำด้วยเครื่องปักดำได้ เนื่องจากเครื่องจะติดหล่ม
2. ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์น้อยกว่าการหว่านน้ำตมและการปักดำ
3. สามารถควบคุมและลดปริมาณวัชพืชและข้าววัชพืชได้ดีกว่าการทำนาหว่านน้ำตม
4. ลดการสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวเมื่อเทียบกับการหว่านน้ำตม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)