กาปลูกข้าว

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การปลูกข้าวโดยวิธีการโยนข้าว

โยนกล้า
  การพัฒนาการทำนา โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมได้อย่างเหมาะสม ทำให้การทำนาในเขตชลประทานได้ผลผลิตสูงกว่าในเขตนาน้ำฝนของประเทศ และสามารถผลิตข้าวได้มากกว่าปีละ 1 ครั้ง เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวโดยวิธีการหว่านน้ำตม ใช้พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง อายุสั้น เก็บเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องเกี่ยวนวด ดยเฉพาะพื้นที่นาชลประทานในภาคกลาง ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์สูง ซึ่งปัจจุบันราคาเมล็ดพันธุ์กิโลกรัมละ 20-23 บาท และเมล็ดพันธุ์ดีก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้การทำนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น 2 ปี 5 ครั้ง หรือ ปีละ 3 ครั้ง ย่อมส่งผลกระทบถึงสภาพแวดล้อม เช่น ปัจจุบันการทำนาในภาคกลางประสบกับ ปัญหาข้าววัชพืช ระบาดอย่างรุนแรง เกษตรกรที่ทำนาแบบหว่านน้ำตม ส่วนหนึ่งเปลี่ยนวิธีการทำนาเป็นการปักดำด้วยเครื่องปักดำเพื่อควบคุมปริมาณข้าววัชพืช ปัญหาที่ตามมาก็คือ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถเตรียมดินให้เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องปักดำได้ และอัตราค่าปักดำค่อนข้างสูงคือ ไร่ละ 1,100-1,200 บาท (รวมเมล็ดพันธุ์ข้าว) วิธีการปลูกข้าวแบบโยนกล้า เป็นการทำนาแบบใหม่ที่สามารถนำมาใช้แทนการปักดำด้วยเครื่องได้

แนะนำให้เป็นทางเลือกในพื้นที่
1. พื้นที่ปัญหาข้าววัชพืชมาก
2. ผลิตในศูนย์ข้าวชุมชนหรือไว้ใช้เองได้
3. ผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อควบคุมข้าววัชพืช
4. ประหยัดเมล็ดพันธุ์

เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าแต่ได้ผลผลิตไม่ตกต่างจากการปักดำด้วยเครื่องหรือการหว่านน้ำตม แต่สามารถควบคุมวัชพืช โดยเฉพาะข้าววัชพืช ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ในภาคกลาง

ตาราง 1 เปรียบเทียบต้นทุน (บาท/ไร่) ของการปลูกข้าวปทุมธาน ี1 ด้วยวิธีการปลูกแบบต่างๆ
(ไม่รวมค่าสารเคมีป้องกันกำจัดโรค แมลง และน้ำมันสูบน้ำเข้านา) /ปรับปรุงจาก นิตยาและคณะ, (2549)

ขั้นตอนการทำนา หว่านน้ำตม นาดำ โยนกล้า
1. เตรียมดิน 610610610
2. เมล็ดพันธุ์ 34513892
3. ตกกล้า - 300300
4. หว่าน (ปักดำ โยนกล้า) 4067250
5. ปุ๋ย 948948948
6.สารเคมีคุมวัชพืช 200- -
7. เก็บเกี่ยว 600600600
8. รวมต้นทุน 2,7433,2682,600
9. ผลผลิต 775875880

การตกกล้า
ตกกล้าในกระบะเพาะกล้าที่มีลักษณะเป็นหลุม ตามลำดับดังนี้
โยนกล้า
1. ใส่ดินในหลุมประมาณ ครึ่งหนึ่งของหลุม
โยนกล้า
2. หว่านเมล็ดข้างงอกลงในหลุมโดยใช้อัตรา 3-4 กก./ 60-70 ถาด/ไร่
โยนกล้า
3. ใส่ดินปิดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระวังอย่าให้ดินล้นออกมานอกหลุม
เพราะจะทำให้รากข้าวที่งอกออกมาพันกัน เวลาหว่านต้นข้าวจะไม่กระจายตัว
โยนกล้า
4. หาวัสดุ เช่นกระสอบป่าน คลุมถาดเพาะ เพื่อเวลารดน้ำจะได้ไม่กระเด็น
รดน้ำเช้า เย็น ประมาณ 3-4 วัน ต้นข้าวจะงอกทะลุกระสอบป่าน ให้เอากระสอบป่านออก แล้วรดน้ำต่อไป จนกล้าอายุ 15 วัน
โยนกล้า
5. นำกล้าที่ได้ไปหว่านในแปลงที่เตรียมไว้ ให้สม่ำเสมอ การตกกล้า 1 คน สามารถตกได้ 2 ไร่ (140 กระบะ) /วัน

การเตรียมแปลง
ไถดะครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวข้าวปล่อยแปลงให้แห้งประมาณ 15-30 วัน แล้วปล่อยน้ำเข้าพอให้ดินชุ่มประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้วัชพืชและเมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในดินงอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเสียก่อนจึงไถดะครั้งที่

ไถแปร หลังจากการไถดะครั้งที่ 1 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันโดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดวัชพืชและเมล็ดข้าวที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีกแล้วจึงไถแปร

คราดหรือทุบ หลังจากการไถแปรครั้งที่ 2 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันโดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดวัชพืชและเมล็ดข้าวที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีกแล้วคราดหรือทุบจะช่วยทำลายวัชพืชได้มาก หรือหลังจากไถดะ ไถแปรและคราดเสร็จแล้วเอาน้ำขังแช่ไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่เป็นวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบ ขาเขียด ทรงกระเทียม ผักปอดและพวกกกเล็ก เป็นต้น งอกขึ้นเสียก่อน เพราะเมล็ดวัชพืชปกติจะงอกภายใน 5-7 วันหลังจากน้ำนิ่งโดยเฉพาะนาที่น้ำใส เมื่อลูกหญ้าขึ้นแล้วจึงคราดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลูกหญ้าก็จะหลุดลอยไปติดคันนาทางใต้ลม ก็จะสามารถช้อนออกได้หมด เป็นการทำลายวัชพืชวิธีหนึ่ง

สำหรับผู้ที่ใช้ลูกทุบหรืออีขลุก ย่ำฟางข้าวให้จมลงในดินแทนการไถ หลังจากย่ำแล้วควรจะเอาน้ำแช่ไว้ให้ฟางเน่าเปื่อยจนหมดความร้อนเสียก่อนอย่างน้อย 3 สัปดาห์แล้วจึงย่ำใหม่ เพราะแก๊สที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของฟางจะเป็นอันตรายต่อต้นข้าวจะทำให้รากข้าวดำไม่สามารถจะหาอาหารได้

ระบายน้ำออกเพื่อปรับเทือก ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ เมื่อคราดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับเทือกให้สม่ำเสมอ กระทำได้ด้วยการใช้น้ำในนาเป็นเครื่องวัด โดยให้น้ำในนามีระดับเพียงตื้นๆ ขนาดเพียงท่วมหลังปูก็จะเห็นว่าพื้นที่นาราบเรียบเพียงใดอย่างชัดเจน เมื่อเห็นว่าส่วนใดยังไม่สม่ำเสมอก็ควรจะปรับเสียใหม่ การปรับพื้นที่นาหรือปรับเทือกให้สม่ำเสมอจะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก

การโยนกล้า ให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. นำกระบะกล้าข้าวที่มีอายุ 15 วัน ไปวางรายในแปลงที่เตรียมไว้ให้กระจายสม่ำเสมอ อัตรา 60-70 กระบะต่อไร่ จากนั้นคนที่จะโยนกล้าจะหยิบกระบะกล้ามาวางพาดบนแขน แล้วใช้มือหยิบกล้าข้าวหว่านหรือโยนในแปลง โดยโยนให้สูงกว่าศรีษะ ต้นกล้าจะพุ่งลงโดยใช้ส่วนรากที่มีดินติดอยู่ลงดินก่อน การหว่านกล้า 1 คน สามารถหว่านได้วันละ 4- 5 ไร่
images
จับต้นกล้า 5 - 15 หลุม
images
โยนตวัดมือขี้นหนือศีรษะ ต้นกล้าจะพุ่งดิ่งลง
images
เกษตรกรช่วยกันโยนกล้า/หว่านต้นกล้า
การดูแลรักษาระดับน้ำ วันหว่านกล้าให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. (ท่วมหลังปู) หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน ต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว สามารถเพิ่มระดับน้ำให้อยู่ที่ระดับครึ่งหนึ่งของต้นข้าว หรือประมาณ 5 ซม. เพื่อการควบคุมวัชพืช
images
ต้นกล้าหลังหว่าน 7 วัน
images
การแตกกอของข้าวที่ปลูกด้วยวิธีการโยนกล้า
images
การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวข้าวที่ระยะที่เหมาะสม คือหลังจากข้าวออกดอก (75 %) แล้ว 28-30 วัน จะมีความชื้นประมาณ 22 % กรณีไม่ถูกฝนช่วงเก็บเกี่ยว ซึ่งจะเกิดความสูญเสียทั้งด้านปริมาณและคุณภาพน้อยที่สุด จะทำให้ได้ข้าวที่มีน้ำหนักดีที่สุด มีการร่วงหล่นและสูญเสียขณะเก็บเกี่ยวน้อยที่สุด ผลผลิตมีคุณภาพดี ข้าวที่เก็บไว้สีเป็นข้าวมีคุณภาพการสีสูง ข้าวที่เก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานอย่างน้อย 7-9 เดือน เสื่อมความงอกช้า
ข้อได้เปรียบของวิธีการโยนกล้าเปรียบเทียบกับการปักดำและหว่านน้ำตม
1. แปลงที่มีลักษณะหล่มก็สามารถเตรียมแปลงเพื่อการหว่านต้นกล้าได้ แต่ไม่สามารถปลูกโดยวิธีการปักดำด้วยเครื่องปักดำได้ เนื่องจากเครื่องจะติดหล่ม
2. ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์น้อยกว่าการหว่านน้ำตมและการปักดำ
3. สามารถควบคุมและลดปริมาณวัชพืชและข้าววัชพืชได้ดีกว่าการทำนาหว่านน้ำตม
4. ลดการสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวเมื่อเทียบกับการหว่านน้ำตม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น